top of page

ประวัติความเป็นมา

ตลาดเก่าริมน้ำหัวตะเข้...

 ก็เป็นอีกหนึ่ง “ตลาดเก่า” ที่มีความเป็นมายาวนาน หรือที่สมัยก่อนเรียกกันว่า “ตลาดเก่าเรือนไม้ หลวงพรต-ท่านเลี่ยม” ตั้งตามชื่อ หลวงพรต และท่านเลี่ยม ผู้บริจาคที่ดินให้สร้างตลาดเรือนไม้ริมน้ำนี้ขึ้นมาตลาด เก่าหัวตะเข้ เป็นตลาดที่มีอายุเก่าแก่นับ 10 ปีตั้งอยู่ในเขตลาดกระบัง ในสมัยก่อนตลาดหัวตะเข้านั้นเป็นตลาดน้ำ ที่มีชาวบ้านพายเรือมาขายของกันอย่างคึกคัก เป็นจุดกระจายสินค้าที่สำคัญในสมัยก่อน เนื่องจากอยู่ติดคลอง ประเวศน์บุรีรมณ์ จะมีผู้นำสินค้าของตนที่เป็นผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรที่ได้จากฝั่งตะวันออก มาจัดจำหน่าย แลกเปลี่ยนกัน แต่ในปัจจุบันความเจริญและความทันสมัยทางด้านตนคมนาคมเข้ามาคือมีถนนสายใหญ่ที่สำคัญหลายสายเข้ามาถึงจึงทำให้ตลาดเริ่มไม่เป็นที่นิยมบรรยากาศค่อนข้างซบเซา เหลือร้านค้าริมน้ำเพียงไม่กี่ ร้าน และก็อาจเป็นผลมาจากเมื่อปี พ.ศ. 2541 ได้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ขึ้นในบริเวณตลาดริมน้ำแต่ที่สำคัญที่สุดคือ การขาดความเอาใจใส่ที่จะพัฒนาและปรับปรุงตลาดจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นทางภาครัฐ และเอกชนรวมถึงการอพยพเข้าและออกของผู้คนในชุมชน ทำให้ ตลาดแห่งนี้ไม่สามารถรักษาความเป็นตัวตนของตัวเองไว้ได้ และทำให้ตลาดน้ำแห่งนี้ค่อย ๆ ถูกลดบทบาทและความสำคัญในแง่แหล่งเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและสังคมที่โดดเด่น จนใกล้หมดลมหายใจ ย่างก้าวที่แนบชาและการหวนกลับมาของตลาดคือจากการมองหาสาเหตุทางด้านภูมิประเทศที่ตั้งที่ค่อนข้างใกล้เขตชุมชนเมืองมากคือมองออกไปจากสะพานก็สามารถเห็นที่อยู่อาศัยอาคารชุดและสถานที่ต่างๆอยู่ในบริเวณโดยรอบห่างกันไม่กี่ 100 เมตรซึ่งสามารถตั้งข้อสังเกตได้ว่าเป็นสถานที่ที่ใกล้แหล่งชุมชนแต่ทำไมไม่มีใครสนใจจะเข้ามาพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องหรือแม้แต่เข้ามาจับจ่ายใช้สอยสินค้า 

พัฒนาการชุมชนหัวตะเข้

 แต่เดิมราษฎรอาศัยอยู่ริมคลองศรีษะจระเข้ใหญ่ซึ่งไหลในแนวทิศเหนือ เมื่อมีการขุดคลองประเวศบุรีรมย์ในแนวตะวันออก-ตก ในเวลาต่อมาเป็นที่รู้จักคือ สี่แยกหัวตะเข้ ประชาชนมีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร ปลูกข้าว ทำเกษตรกรรม เลี้ยงปลาและเลี้ยงสัตว์ตลาดหัวตะเข้เดิมมีลักษณะเป็นเรือนไม้ชิ้นเดียวปลูกสร้างวางตัวยาวขนานริมคลอง ด้านหน้าเรียงแถวเป็นชานไม้สามารถจอดเรือซื้อ-ขาย ขนถ่ายสินค้าได้ แยกคลองหัวตะเข้แต่เดิมเป็นพื้นที่เกษตรกรรมของเอกชน
พ.ศ. 2439 บาทหลวงกียู เจ้าอาวาทวัดคริสต์ได้สร้างวัดไม้ไผ่ทุ่งนา
พ.ศ. 2441 บาทหลวงเดชาลส์ ผู้สร้างวัดกาลหว่าร์หลังใหม่ หัวตะเข้เป็นสาขาหนึ่งของวัดกาลหว่าร์
พ.ศ. 2448 รัชกาลที่5 ได้สร้างรถไฟสายตะวันออกฅ
พ.ศ. 2470 อำเภอแสนแสบถูกเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอลาดกระบัง
พ.ศ. 2481 ถูกลดฐานะเป็นกึ่งอำเภอลาดกระบังอยู่ในการปกคลองของอำเภอมีนบุรี
พ.ศ. 2500 ได้ถูกยกฐานะกลับเป็นอำเภอลาดกระบังในความปกคลอง จ.พระนคร
พ.ศ. 2515 จ.พระนคร ซึ่งได้ปรับปรุงเป็นกรุงเทพมหานคร

**เรื่องราวชุมชนหัวตะเข้** 

พ.ศ. 2510 เกิดไฟไหม้ ร้านค้าเสียหายเป็นจำนวนมาก

พ.ศ. 2537 ไฟไหม้บริเวณตลาดฝั่งใต้ ซึ่งปัจจุบันยังคงเป็นที่รกร้าง ในเหตุการณ์คราวนั้นในปลายทศวรรษ 2510-2520 เริ่มมีถนนเข้าสู่ลาดกระบัง การค้าทางน้ำได้เคลื่อนมาเป็นตลาดน้ำริมถนน จากนั้นตลาดริมน้ำได้ถูกลดบทบาทลงอาคารพาณิชพักอาศัยเรียงรายขึ้นแทนที่พร้อมกันนั้นภาคอุตสาหกรรมได้เข้ามาตั้งนิคมอุสาหกรรมในปีพ.ศ.2521 ประชาชนได้ขยายจากในเขตเมืองรอบนอกกรุงเทพสู่ลาดกระบังสั่งสมปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆพื้นที่เกษตรกรรมและแปลงนาได้เปลี่ยนเป็นชุมชนและเพิ่มปริมาณพื้นที่รกร้างรอการพัฒนาตามกระบวนการก่อให้เกิดเป็นชุมชนมากยิ่งขึ้น

 สาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในชุมชนลงพื้นที่เดินเท้าสำรวจสภาพแวดล้อมของ ชุมชนหัวตะเข้ ซึ่งเป็นพื้นที่ติดริมน้ำ มีร้านขายของตามทางเท้า ส่วนใหญ่เป็นร้านเก่าแก่ดั้งเดิม คนในชุมชนอาศัย อยู่มาเป็นเวลานาน บรรยากาศเรียบง่าย สงบ มีความเป็นเอกลักษณ์ในตัวของชุมชนเอง โดยทางกลุ่มของเรานั้นได้ ติดต่อไปทางผู้นำชุมชนหัวตะเข้ คือ อ.อ้อย คุณอำภา บุญเกตุ เป็นผู้ให้ความรู้และเล่าประวัติความเป็นมาของชุมชน ให้ฟัง อ. อ้อยได้ให้การต้อนรับพวกเราเป็นอย่างดีเมื่อไปถึง ลักษณะเด่นๆที่เมื่อพูดถึงชุมชนหัวตะเข้ แน่นอนต้อง เป็น ว่าวใบไม้ ขนมพื้นบ้านที่เป็นภูมิปัญญาของชุมชน การใช้แพนเป็นตัวช่วยในการปักเสาในคลอง การจัด กิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ในชุมชนในทางของการท่องเที่ยวทางรัฐบาลได้เน้นทางด้านอาหารของกินที่สะท้อนวัฒนธรรมของชุมชน ในชุมชนหัวตะเข้พยายามเสนอตัวตนของชุมชนคือ การที่เป็นอะไรที่ไม่เยอะ บ้านๆ เรียบง่าย ไม่หวือหวา เสนอความเป็นชานเมือง ไม่ได้หายาก แต่แสดงออกว่าเป็นของที่มาจากชานเมืองทางภาคตะวันออก คนเมืองบางครั้งที่มาเห็นอัตลักษณ์ในความดั้งเดิม ซึ่งตอนนี้ปัจจุบันก็ยังมี ไอศกรีมกะทิแป๊ะเว้ง แต่เดิมเรียกว่าแป้งหอมเป็นของดั้งเดิม เป็นบริบทของชุมชน ขนมสายบัวแดง มีข้าวอบเผือก ในทางของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ให้ชุมชนหัวตะเข้เป็น 1 ใน 10 ของชุมชนน่าเที่ยว เน้นไปทางชุมชนชวนชิม เอาของพื้นบ้านในชุมชนมาทำ น้ำเต้า ฟัก สายบัว พืชผักข้างรั้วตามบ้านที่สามารถนำเอามาทำได้หมด ในตอนนี้ขนมสายบัวแดงได้เลือนหายไป หากินยาก เพราะไม่มีสายบัวแดงแถวนี้สักเท่าไหร่ บ่ออยูในบ่อกุ้งไม่ได้ บางทีเจอสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย สายบัวแดงก็ไม่ค่อยมีวิธีการทำหลากหลายขั้นตอน เป็นบัวนา กับ บัวบ่อ สายบัวแดงทำขนมได้ดี มีจุดเด่นตรงหอมกลิ่นสายบัว มันเป็นความต่างของคนโบราณที่แยกได้ ระหว่างสายบัวขาว และสายบัวแดง ถามคนท้องไร่ท้องนาก็ทำเป็นกันทั้งนั้น จึงอยากจะนำมาฟื้นฟู เพื่อถ่ายทอดความเป็นชุมชนของเรา เป็นขนมบ้านๆ ซึ่งขนมสายบัวแดง 1 ในขนม 100 ปีของกระทรวงวัฒนธรรม ถือเป็นขนมตามฤดูกาลอย่างหนึ่ง เป็นภูมิปัญญาที่น่าสนใจ ที่อยากจะนำเสนอผ่านสื่อวิดีโอเพื่อเผยแพร่

bottom of page