top of page

ศาลเจ้า ปึงเถ้ากง

 จุดเริ่มต้นตำนานเรียกขานหัวตะเข้ ซึ่งเป็นศาลเจ้าตามรูปแบบของวัดจีนด้านในเป็นประดิษฐานของเทพเจ้า ปึงเถ้ากง เทพที่คอยดูแลคุ้มครองลูกหลานชาวจีนที่เดินทางข้ามโพ้นทะเลให้ปลอดภัย ด้านข้างขององค์เทพถูกวางขนาบด้วยกระดูกของจระเข้ที่ค้นพบบริเวณนี้ ด้านซ้ายเป็นส่วนของหาง ด้านขวาเป็นโครงกระดูกส่วนศรีษะ ซึ่งเป็นโครงกระดูกจระเข้ของจริงที่มาตายอยู่บริเวณชุมชน ธรรมเนียมการนำเอาหัวหรือกะโหลกของสัตว์บางชนิดที่เชื่อกันว่ามีฤทธิ์อำนาจในน้ำอย่างจระเข้ มาตั้งวางไว้ที่ศาลเจ้ายังพบเห็นหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน เช่นที่ศาลเจ้าจุ้ย คลองบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นศาลไม้ทรงไทย ทาสีแดงทั้งหลัง ชวนให้นึกถึงศาลเจ้าในภาพจิตรกรรมวัดสุวรรณาราม ก็มีเจว็ดไม้ตั้งไว้ พร้อมด้วยหัวกะโหลกจระเข้ ไหนจะภูมินามชื่อ “หัวตะเข้” และ “ศีรษะจระเข้” ที่อยู่ระหว่างรอยต่อเขตลาดกระบังของกรุงเทพฯ กับอำเภอบางเสาธงของสมุทรปราการอีก แน่นอนว่าทั้งหัวตะเข้ของลาดกระบังกับศีรษะจระเข้ (ซึ่งมีทั้งตำบล “ศีรษะจระเข้น้อย” และตำบล “ศีรษะจระเข้ใหญ่”) ทางบางเสาธง ดั้งเดิมคือหย่อมย่านเดียวกันที่กินอาณาบริเวณครอบคลุมทั้งสองฟากคลองประเวศบุรีรมย์ ต่างกันแต่ฝั่งหนึ่งเลือกใช้ตัวสะกดตามเสียงชาวบ้าน ส่วนอีกฝั่งหนึ่งถูกแปลงให้เป็นภาษาเขียนหรือ “ภาษาราชการ” แล้ว ซึ่งทั้งหมดก็ชวนให้คิดว่าดั้งเดิมเห็นจะมีศาลที่ตั้ง “ศีรษะจระเข้” หรือ “หัวตะเข้” อยู่ริมคลองในละแวกนั้นที่ใดที่หนึ่งแน่ๆ นักวิชาการหลายท่านอธิบายไว้ว่า ปึงเถ่ากง เป็นเทพเจ้าของจีนโพ้นทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชุมชนคนจีนโพ้นทะเลจะมีศาลปึงเถ่ากงให้เห็นอยู่ทั่วไป บางชุมชนอาจมีมากกว่า ๑ แห่ง แต่ในเมืองจีนไม่มีปึงเถ่ากง เมื่อประเพณี วิถีชีวิตส่วนใหญ่ของคนจีนโพ้นทะเลก็จดจำมาจากสิ่งที่ปู่ย่าตายายที่เมืองจีนเคยทำแทบทั้งสิ้น ถ้าเมืองจีนไม่มีปึงเถ่ากงแล้วเราเอาแบบอย่างมาจากสิ่งใด ลิ้มเฮียช่วยอธิบายถึงที่มาที่ไปของปึงเถ่ากงนั้นมีอยู่ 2-3 ประเด็นให้ฟังว่า:

 1. ปึงเถ่ากงเป็นเทพเจ้าองค์เดียวกับแป๊ะกง (บ้างเรียก โทวตี่กง) ซึ่งเป็นเทพเจ้าที่ดิน ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในเมืองจีนตามชุมชนต่างๆ จะมีศาลแป๊ะกงให้เห็นเสมอแป๊ะกงมีบทบาทสำคัญมากในสังคมสมัยก่อน งิ้วหลายเรื่องถ่ายถอดให้เห็นว่ากษัตริย์, ขุนนาง, คนเดินทางใครตกระกำลำบากก็ไปอาศัยศาลแป๊ะกง เป็นที่พักแรม, ที่หลบภัย หรือร้องทุกข์กับเทพเจ้า แป๊ะกง ซึ่งเป็นเทพระดับล่างก็มีหน้าที่ส่งรายงานขึ้นไปเบื้องบนลิ้มเฮียยังเล่าถึงนิทานพื้นบ้านแต้จิ๋วเรื่องหนึ่งซึ่งกล่าวถึงแป๊ะกงว่า สมัยราชวงศ์หมิง เอ็งบ่วงตั๊ก-เสนาบดีกลาโหมชาวแต้จิ๋วยกทัพไปรบ ระหว่างทางแวะพักแรมที่ศาลแป๊ะกง แต่ปรากฏว่าทหารในกองทัพถูกเสือฆ่าตายเอ็งบ่วงตั๊กเดินไปตำหนิแป๊ะกงในศาลว่าเป็นเทพเจ้าที่ไม่ดูแลพื้นที่ให้เรียบร้อยปล่อยให้เสือมาทำร้ายทหารหลวงได้อย่างไร ทั้งสั่งให้แป๊ะกงไปเรียกเสือตัวที่ฆ่าคนตายมารับผิด เมื่อเสือมาพบเอ็งบ่วงตั๊กสั่งให้เสือตัวนั้นถือธงประจำกองทัพแทนทหารที่ตายเป็นการทำคุณไถ่โทษ นิทานเรื่องนี้ทำให้รู้ว่าแป๊ะกง ไม่ได้ดูแลแต่คน หากรวมถึงสรรพสัตว์และสภาพดินฟ้าอากาศของชุมชนอีกด้วยแต่เมื่อคนจีนออกมาทำกินในโพ้นทะเล อาชีพเกษตรที่เคยทำส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นค้าขาย ขณะที่ชื่อของ“ปึงเถ่ากง” ในภาษาแต้จิ๋วนั้นมีความหมายที่ดี คำว่า “ปึง” มาจาก “ปึงจี๊” แปลว่า เงินทุน คำว่า “เถ่า” มาจาก“เถ่าใช่” แปลว่า นิมิตหมายที่ดี ส่วนคำว่า “กง” ใช้เรียกผู้อาวุโส ผู้ชาย หรือหมายถึง ปู่, ตา ปึงเถ่ากงจึงเป็นเทพเจ้าในใจคนที่ทำการค้า ซึ่งลักษณะทั่วไปของคนค้าขายจะอาศัยอยู่ในเมือง หรือ ชุมชนขนาดใหญ่ ประกอบกับการขยายตัวของสังคมเมือง ปึงเถ่ากง จึงกลายเป็นเทพเจ้าของคนในเมือง ขณะที่คนในชนบทที่ห่างไกลออกไปยังคงนับถือและเรียกท่านว่า “แป๊ะกง” เช่นเดิม แป๊ะกงจึงกลายเป็นเทพเจ้าของคนในเมืองขณะที่คนในชนบทที่ห่างไกลออกไปยังคงนับถือและเรียกท่านว่า “แป๊ะกง” เช่นเดิม แป๊ะกงจึงกลายเป็นเทพเจ้าของคนในชนบท ขณะที่ปึงเถ่ากงเป็นเทพเจ้าของคนเมืองไปโดยปริยาย

 2. เอกสารจีนที่ลิ้มเฮียเคยอ่านนั้น ปึงเถ่ากงเป็นเทพเจ้าที่มีตัวตนจริงโดยเป็นลูกเรือคนหนึ่งของเจิ้งเหอที่ออกมาสำรวจทะเล ต่อมาลูกเรือดังกล่าวได้ตั้งรกรากที่เกาะแห่งหนึ่งในหมู่เกาะสุมาตรา ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่เขาได้ทำประโยชน์ให้กับพื้นที่ เมื่อเขาเสียชีวิตลงจึงมีพัฒนาการเป็นเทพเจ้าประจำท้องถิ่น เมื่อผู้เขียนสืบค้นตามแนวทางดังกล่าวก็พบว่า ข้อมูลในลักษณะข้างต้นโดยในเอกสาร “3 เทพเจ้าจีน : รูปแบบของการเปลี่ยนแปลง (THREE CHINESE DEITIES : VARIATIONS ON A THEME )” ของ คีท สตีเฟ่น (KeithSteven) กล่าวถึงปึงเถ่ากง ว่าที่ฟิลิปปินส์ ปึงเถ่ากงเป็นผู้นำทางวัฒนธรรมจีนองค์หนึ่งที่ชาวแต้จิ๋วและฮกเกี้ยนให้ความนับถือ กล่าวกันว่าปึงเถ่ากงเป็นลูกเรือในคณะสำรวจทะเลของเจิ้งเหอซึ่งมาขึ้นฝั่งที่โจโล (เกาะเล็กๆ อยู่ระหว่างเกาะบอร์เนียวกับเกาะมินดาเนา) เขาปกป้องเกาะแห่งนี้จากการรุกรานของกองทัพเรือสเปน และมีลูกหลานสืบทอดไปเป็นจำนวนมากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปึงเถ่ากง เป็นที่เคารพสักการะในฐานะของเทพเจ้าแห่งความมั่นคั่ง ด้วยชื่อเรียกที่ต่างกันไป เช่น ประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ เรียกว่า “ตั่วแป๊ะกง” แต่ประเทศไทยเรียกว่า “ปึงเถ่ากง”นอกจากนี้ในหนังสือองค์กรอาสาสมัครของคนจีนที่พลัดถิ่น (Voluntary Organizations in the ChineseDiaspora) เรียบเรียงโดย กุนเอิงกัว–เพียซ และ อีวีลีย์น ฮู-ดีฮาร์ต (Khun Eng Kuah-Pearce และ Evelyn Hu-Dehart) กล่าวถึงปึงเถ่ากงซึ่งสรุปความได้ว่าปึงเถ่ากงเป็นเทพเจ้าที่ดิน คนกวางตุ้งเรียกท่านว่า ถู่ตี้กง แต่คนแต้จิ๋วอธิบายว่าท่านเป็นเทพเจ้าแห่งความมั่งคั่งในบ้านของคนแต้จิ๋วจะตั้งหิ้งเล็กๆ เพื่อบูชาท่านปึงเถ่ากง เป็นเทพเจ้าที่ชาวจีน โพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลื่อมใสมาก โดยรู้จักกันทั่วไปว่าท่านคือ เจิ้งเหอนักเดินเรือผู้มีชื่อเสียงแม้บทสรุปจะไม่ชัดเจนว่าปึงเถ่ากงเป็นใคร แต่มีความเป็นไปได้ว่าท่านมีตัวตนจริง และเป็นคนเรือที่เดินทางมาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 3. สำหรับเมืองไทย ศาลปึงเถ่ากงจำนวนไม่น้อยเกิดขึ้นจากการกลืนทางวัฒนธรรม เช่น ในชุมชนนั้นอาจมีบุคคลที่ทำประโยชน์แก่สังคม เมื่อเสียชีวิตก็มีการตั้งศาลให้เป็นที่ระลึก เป็นศาลปู่ย่า, ศาล… (ชื่อบุคคลนั้นๆ) พอตำนานเดิมเลือนราง ศาลจำนวนหนึ่งจึงกลายเป็นศาลปึงเถ่ากง เช่น ศาลปึงเถ่ากงม่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ที่ป้ายศาลเขียนกำกับภาษาไทยว่า “ศาลเจ้า ปู่-ย่า”, ศาลปึงเถ่ากงในจังหวัดสุพรรณบุรี ใช้เทวรูปพระวิษณุอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 แทนรูปปั้นเทพเจ้าจีน ฯลฯลิ้มเฮีย ยังช่วยอธิบายถึงหน้าที่ของปึงเถ่ากงในบทบาทของ “เทพเจ้าส่วนภูมิภาค” ด้วยการลำดับภาพของเทพเจ้าส่วนภูมิภาคออกเป็น 3 ระดับ ด้วยกันคือ 1. เสี่ยอึ้งกง (บ้างเรียกเซียอ๊วงกง) – เจ้าพ่อหลักเมือง เทียบได้กับผู้ว่าราชการจังหวัด 2. ปึงเถ่ากง เทียบได้กับนายอำเภอ ต่างกันที่อำเภอหนึ่งมีนายอำเภอคนเดียว แต่อำเภอหนึ่งอาจมีศาลปึงเถ่ากงมากกว่า 1 แห่ง 3. แป๊ะกง เทียบได้กับ กำนัน หรือ อบต. (องค์การบริหารส่วนตำบล)เมื่อปึงเถ่ากงเทียบได้กับนายอำเภอที่รับผิดชอบงานบริหารจัดการ และงานด้านความมั่นคง ลิ้มเฮียจึงชี้ให้เห็นเครื่องแต่งกายของปึงเถ่ากงที่แสดงถึงงานในหน้าที่ของท่านว่า “เครื่องแต่งกายของปึงเถ่ากงจะผสมผสานระหว่างบุ๋น-บู๊ โดยเสื้อขุนนางตัวยาวจะมีเข็มขัดคาดรัดกุมคล้ายชุดทหาร ที่เป็นจุดเด่นและแตกต่างจากชุด เทพเจ้าอื่นๆ คือแขนเสื้อ แขนเสื้อข้างซ้ายจะเป็นแบบขุนนางฝ่ายบุ๋น คือ แขนเสื้อยาวถึงข้อมือ ปลายแขนเสื้อกว้างส่วนแขนเสื้อข้างขวาจะเป็นแบบขุนนางฝ่ายบู๊ คือ แขนเสื้อยาวถึงข้อมือ ปลายแขนแคบรัดกุม (คล้ายๆ ปลายแขนของเสื้อเชิ้ตแบบแขนยาว) และถือหยูอี้ (คฑา)”ฟังเรื่องปึงเถ่ากงมาจนยืดยาวอดนึกถึง “ปึงเถ่าม่า” ไม่ได้ ผู้อ่านหลายท่านคงเคยเห็นศาลเจ้าบางแห่งมีทั้งปึงเถ่ากงและปึงเถ่าม่าตั้งอยู่คู่กัน แล้วปึงเถ่าม่าเป็นใคร เมื่อลิ้มเฮียเปรียบปึงเถ่ากงทำหน้าที่เป็นนายอำเภอ ผู้เขียนจึงคิดต่อเอาว่า ปึงเถ่าม่าก็ควรเป็นคุณนายนายอำเภอที่ดูแลงานสังคมประเภทงานกาชาดอำเภอ กิจกรรมของผู้หญิงในชุมชน ฯลฯ ได้หรือไม่ซึ่งลิ้มเฮียช่วยอธิบายว่า “นั่นก็ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้แล้วยังมีลักษณะความผูกพันในครอบครัวที่มีกงม่า (ปู่ย่า, ตายาย) คู่กัน เมื่อก่อนแถวบางขุนเทียนยังมีการจัดงานแต่งงานให้ปึงเถ่ากง ปึงเถ่าม่า”

bottom of page